ประกันภัยเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
การประกันภัยโจรกรรม (Burglary Insurance)
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยโจรกรรม ดังนี้
ความคุ้มครอง- ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง 2 ส่วน คือ
- ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
- ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ 3 แบบ คือ
- แบบ จร. 1 คุ้มครองการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ โดยบุคคลใด ๆ ที่มิได้ระบุในข้อยกเว้นซึ่งได้เข้าไปหรือออกจากสถานที่ที่เอาประกันภัย โดยใช้กำลังอย่างรุนแรงและทำให้เกิดร่องรอยความเสียหาย ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ต่อสถานที่ที่เอาประกันภัยจากการใช้เครื่องมือ วัตถุระเบิด ไฟฟ้า เคมี รวมทั้งความสูญเสียหรือความเสียหายเนื่องมาจากความพยายามกระทำการดังกล่าว
- แบบ จร. 2 คุ้มครองการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์
ความคุ้มครองแบบ จร. 2 นี้จะกว้างกว่าแบบ จร. 1 โดยรวมถึงการชิงทรัพย์และการปล้นทรัพย์ด้วย
การชิงทรัพย์ หมายความว่า การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลงประทุษร้อยเพื่อ- ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไปหรือ
- ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นหรือ
- ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้หรือ
- ปกปิดการกระทำความผิดนั้นหรือ
- ให้พ้นจากการจับกุม
- การปล้นทรัพย์ หมายความว่า การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต
- แบบ จร. 3 คุ้มครองการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ความคุ้มครองแบบ จร. 3 นี้
จะกว้างที่สุดโดยรวมถึงการลักทรัพย์ (ลักขโมย)
- การลักทรัพย์ หมายความว่า
การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต
- ความเสียหายต่อตัวอาคารซึ่งเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัย บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวอาคาร อ้นเกิดจากการกระทำซึ่งได้รับความคุ้มครองตามความคุ้มครองข้อ 1.1 ข้างต้น
- ความสูญเสียหรือความเสียหายส่วนแรก ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองความสูญเสีย หรือความเสียหายจากภัยสงคราม (ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง การนัดหยุดงาน การจลาจล การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล การกบฏ การปฏิวัติ การยึดทรัพย์ โดยคำสั่งของรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
- ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากอัคคีภัย หรือระเบิด ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เว้นแต่ความสูญเสียหรือความเสียหายจากการระเบิด อันเป็นผลมาจากการเข้าไปในสถานที่เอาประกันภัย โดยการใช้วัตถุระเบิด และมีเจตนาเพื่อที่จะทำการลักทรัพย์ หรือ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
- ความเสียหายของกระจกหรือสิ่งประดับบนกระจก หรือข้อความบนกระจก ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากกระทำ หรือการมีส่วนร่วมโดยบุคคลใด ๆ ซึ่งอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย ในสถานที่ตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ หรือเกิดจากการกระทำโดยผู้เอาประกันภัย หรือหุ้นส่วนของผู้เอาประกันภัยหรือกรรมการ หรือพนักงาน หรือลูกจ้าง ของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำด้วยตนเองโดยลำพัง หรือสมรู้ร่วมคิดกับบุคคลอื่น
- ความสูญเสียหรือความเสียหายของ เงิน ทอง อัญมณี โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เหรียญ ต้นฉบับเอกสาร โฉนด แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลาย แบบหรือแบบพิมพ์ หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญ ต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร บัตรเครดิต บัตรธนาคาร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด ๆ เว้นแต่ระบุให้รวมอยู่ในการประกันภัย นี้โดยชัดแจ้ง
- ความสูญเสียหรือความเสียหาย ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในตารางแห่งกรมธรรม์ถูกทอดทิ้ง โดยไม่มีผู้อยู่อาศัย หรือไม่มีผู้ดูแลรักษาเป็นเวลาเกินกว่า 7 วันติดต่อกัน
- ความสูญเสียหรือความเสียหายซึ่งพบเมื่อตรวจสอบบัญชีสินค้า
การประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน
จุดประสงค์ของการประกันภัย สำหรับเจ้าบ้านการประกันภัยเจ้าบ้านเป็นการประกันภัยที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้ความคุ้มครองต่อผู้เป็นเจ้าของอาคาร ประเภทบ้านอยู่อาศัย สำนักงานในบ้าน หรือห้องชุดอยู่อาศัยในแฟลต แมนชั่น หรือคอนโดมิเนียม ให้ได้รับ ความคุ้มครองหลายอย่างไว้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากอัคคีภัย ความเสียหายจากโจรกรรมหรือการลักทรัพย์ ความเสียหายต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย ต่อทรัพย์สินในอาคาร การสูญเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว การจ่ายเงินชดเชย สำหรับการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น
การประกันภัยประเภทนี้ให้ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่หลากหลายแล้ว ยังสะดวกในการต่ออายุการประกันภัยด้วย เนื่องจากเป็นการผนวกเอากรมธรรม์หลายรูปแบบ ไว้ในกรมธรรม์เดียว และที่สำคัญเป็นการช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำประกันภัย หลายประเภทหลายกรมธรรม์
ความคุ้มครองของการประกันภัย สำหรับเจ้าบ้าน- กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านมีหลายรูปแบบ
ซึ่งแต่ละบริษัทอาจเลือกขายความคุ้มครองแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปความคุ้มครองจะมี 5 หมวด ดังนี้
- หมวด 1 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร
- หมวด 2 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร
- หมวด 3 : ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนที่พักอาศัยชั่วคราว และการสูญเสียค่าเช่า
- หมวด 4 : ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
- หมวด 5 : เงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร หรือต่อทรัพย์สินในอาคารที่เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า การระเบิด อากาศยานหรือสิ่งที่หล่นจากอากาศยาน น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ การลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไปหรือออกจากอาคาร การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายาม กระทำการดังกล่าว อาคารถูกชนโดยพาหนะทางบก ม้าหรือปศุสัตว์ ที่ไม่ได้เป็นของหรืออยู่ในความควบคุมของผู้เอาประกันภัย หรือของสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ
ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่ากล่าวคือ ในกรณีที่อาคารที่พักอาศัยที่ทำประกันนั้นได้รับความเสียหายจากภัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะต้องทำการซ่อมแซมหรือสร้างขึ้นใหม่ และในระหว่างรอการซ่อมแซม หรือสร้างใหม่นั้น ผู้เอาประกันภัยก็จะต้องหาที่พักอาศัยชั่วคราว เช่น บ้านเช่า/โรงแรม/อพาร์ทเมนท์ เป็นต้น บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของอาคารและมีรายได้จากการให้เช่าอาคารนั้น เช่น เจ้าของบ้านเช่า/ เจ้าของหอพัก/เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น หากเกิดความเสียหายต่ออาคารจากภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์ จนทำให้เจ้าของอาคารต้องขาดรายได้ซึ่งเคยได้รับ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุในตาราง
คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ในฐานะเจ้าของอาคารที่เอาประกันภัย หรือในฐานะผู้เช่า ซึ่งพักอาศัยในอาคารที่เอาประกันภัย โดยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ความรับผิดต่อร่างกายของบุคคลภายนอก เช่น การเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความบาดเจ็บต่อร่างกาย (ตัวอย่าง เช่น บุคคลภายนอกมาบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วลื่นล้มในห้องน้ำหัวฟาดพื้น) และความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเนื่องมาจาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอาคารหรือเกี่ยวกับอาคาร (ตัวอย่าง เช่น รถของบุคคลภายนอกจอดไว้ในบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วของจากที่สูงตกใส่หลังคารถ แล้วทำให้รถได้รับความเสียหาย)
ความคุ้มครองสำหรับเงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยหากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุขณะที่อยู่ในอาคารที่ทำประกันภัย และเป็นเหตุให้เสียชีวิตทันที หรือได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุมาจากภัยภายใต้ความคุ้มครองต่ออาคาร และทรัพย์สินในอาคารดังได้กล่าวมาแล้วนั้น และมีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ (ตัวอย่าง เช่น อาคารที่เอาประกันภัยเกิดเพลิงไหม้แล้วผู้เอาประกันภัยถูกไฟคลอกตาย/ เกิดระเบิดในอาคารที่เอาประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บต้องรับการรักษาพยาบาล และต่อมาเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดระเบิดนั้น)
การประกันภัยผู้โดยสารเรือสำหรับโดยสาร
ปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดให้เจ้าของเรือโดยสารทุกลำต้องจัดให้มีการ ประกันภัยให้แก่ผู้โดยสาร เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้โดยสารเรือว่า ในกรณีที่มีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งส่งผลให้ผู้โดยสารเรือได้รับบาดเจ็บ จะมีผู้ที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้โดยสารเรืออย่างน้อยที่สุด จำนวนหนึ่งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ทางการเงินของทั้งผู้ประสบภัยและเจ้าของเรือ
เรือสำหรับโดยสาร หมายถึง เรือประเภทใดบ้างเรือโดยสาร ที่เข้าลักษณะต้องทำประกันภัยนั้น หมายความถึง เรือที่ระบุประเภทการใช้ไว้ในใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือประเภทเรือโดยสาร หรือเรือประเภทอื่นที่อนุญาตให้ใช้บรรทุกผู้โดยสารได้ด้วย ทั้งนี้ เป็นการบรรทุกผู้โดยสารตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าเรือโดยสารนั้นจะวิ่งในเส้นทางใด ทั้งในคลอง ในแม่น้ำ ระหว่างแม่น้ำและทะเล และในทะเลด้วย
เรือที่มีประกันภัยแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการใช้บริการเรือโดยสาร จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือสำหรับโดยสาร สำหรับความเสียหายจากอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตาย ทุพพลภาพหรือบาดเจ็บ โดยจำนวนเงินประกันภัยที่ได้รับความคุ้มครองมีดังต่อไปนี้
- เสียชีวิต คนละ 100,000 บาท
- สูญเสียตาหรือสายตาสองข้าง คนละ 100,000 บาท
- สูญเสียแขนหรือขา หรือสมรรถภาพในการใช้แขนหรือขาสองข้าง คนละ 100,000 บาท
- สูญเสียแขนหรือสมรรถภาพในการใช้แขนหนึ่งข้าง และสูญเสียขาหรือสมรรถภาพในการใช้ขาหนึ่งข้าง คนละ 100,000 บาท
- สูญเสียแขนหรือขา หรือสมรรถภาพในการใช้แขนหรือขาหนึ่งข้าง และสูญเสียตาหรือสายตาหนึ่งข้าง คนละ 100,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง คนละ 100,000 บาท (ไม่สามารถทำงานเลี้ยงชีพอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตลอดไป)
- สูญเสียตาหรือสายตาหนึ่งข้าง คนละ 60,000 บาท
- สูญเสียแขนหรือขา หรือสมรรถภาพในการใช้แขนหรือขาหนึ่งข้าง คนละ 60,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาล คนละไม่เกิน 15,000 บาท
กรมธรรม์นี้ให้ความคุ้มครองหลักเฉพาะต่อผู้โดยสาร แต่ผู้เอาประกันภัยสามารถขอขยายความคุ้มครองเพิ่ม ถึงคนประจำเรือได้ โดยการจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
เรือทุกลำจะใช้กรมธรรม์มาตรฐานเดียวกันแต่ทั้งนี้ผู้เอาประกันสามารถขอเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้มากจากภาคบังคับได้โดยการจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : | 02-0542391 |
062-6923964 | |
093-6393291 | |
โทรสาร : | 02-0542391 |
อีเมล : | kriengdech.j@kprbroker.com |
peak.ros@gmail.com |
จันทร์-ศุกร์ : | เวลา 08:30 น. - 17:00 น. |
เสาร์ : | เวลา 09:00 น. - 15:00 น. |
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย) |