การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัท (D&O)
การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ (Directors and Officers Liability Insurance) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองกรรมการ (Directors) และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร (Executive Officers) ของบริษัท สำหรับความสูญเสียหรือค่าเสียหายทางการเงิน อันเนื่องมากจาก การละเมิดหรือการกระทำผิด (wrongful acts) ที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย นอกจากนี้ การประกันภัยดังกล่าว ยังให้ความคุ้มครองตัวบริษัทในกรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตหรือผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้กับกรรมการ และ/หรือเจ้าหน้าที่สำหรับการกระทำผิดที่กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่นั้นต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งหากมองในมุมของการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ก็คือ ความรับผิดทางอาชีพการบริหารจัดการ (Managerial professional liability) นั่นเอง
การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร ความคุ้มครองตามกรมธรรม D&O
- แบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- การคุ้มครองความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers Liability Coverage)
- การคุ้มครองเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย แก่บริษัทที่เอาประกันภัย (Company Reimbursement Coverage)
- ถูกฟ้องร้องทางแพ่ง
- ดำเนินคดีในศาลอาญา
- การต่อสู้คดี
- การฟ้องร้องของพนักงานในบริษัท (คดีแรงงาน)
- การทำหน้าที่เป็นกรรมการในบริษัทในเครือ
- การรับผิดจากการออกหนังสือชี้ชวนให้มาลงทุน
- ความเสียหายจากการบริหารงานผิดพลาด (Financial Loss)
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี (Defense Cost)
- ผู้ถือหุ้น
- นักลงทุน
- ลูกค้า / คู่แข่งทางการค้า
- พนักักงานของบริษัท
Insured : ผู้เอาประกันภัย หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเคยเป็น เป็น หรือจะเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของบริษัทหรือบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้จัดการดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับ เงินบำนาญ กองทุนเพื่อการเกษียณอายุหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของพนักงานบริษัท ความคุ้มครองที่ใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของบริษัทจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ หลังจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้เริ่มคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยให้รวมถึงพนักงานคนใดคนหนึ่งของบริษัท แต่ต้องเป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่พนักงานของบริษัทอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการหรือหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้ทำละเมิดเท่านั้น เฉพาะการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการจ้างงาน ผู้เอาประกันภัยให้รวมถึงพนักงานของบริษัทในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
Wrongful act : การทำละเมิด หมายถึง การกระทำผิดหน้าที่ซึ่งได้กระทำขึ้นจริง หรือที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหน้าที่ กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประมาทเลินเล่อ กระทำผิดพลาด แถลงข้อความอันเป็นเท็จ แถลงข้อความที่ทำให้หลงผิด ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือผิดคำรับรองในอำนาจหน้าที่ หรือการกระทำอย่างอื่นโดยบุคคลดังต่อไปนี้
- กรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หรือพนักงานในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หรือ พนักงานของบริษัท
- ในฐานะที่เป็นกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของหน่วยงานภายนอก หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใดๆ ต่อบุคคลเหล่านี้เพียงเพราะว่าบุคคลเหล่านี้มีสถานภาพเป็นกรรมการ เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร และพนักงานของบริษัทเท่านั้น
ความคุ้มครองเพิ่มเติม
Newly Created Subsidiaryให้ความคุ้มครองกับบริษัทที่เพิ่มความเป็นเจ้าของมากกว่า 50% ระหว่างปี โดยให้ความคุ้มครองนับแต่วันที่ถือครองเกิน 50%
Disposal of Subsidiaryหากมีการขายหุ้นออกไประหว่างปี ทำให้บริษัทถือครองหุ้นต่ำกว่า 50% จะถือว่าความคุ้มครองสิ้นสุดลง แต่ยังคงมีการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจาก Wrongful Act ที่กระทำในช่วงที่บริษัทยังถือครองเกิน 50%
Take Over / Merger / Transactionมีการขายหุ้นของบริษัทระหว่างปี ทำให้มีผู้อื่นหรือบริษัทอื่นมาถือครองมากกว่า 50% ให้ถือว่าความคุ้มครองสิ้นสุดลง แต่ยังคงมีการชดใช้ค่าเสียหายสำหรับ Wrongful Act ที่กระทำในช่วงที่บริษัทยังไม่ได้ถูก Take Over / Merger / Transaction
การปฏิบัตัติต่อลูกจ้างอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม (Wrongful Employment Practice)- การไล่ออก, การให้พ้นหน้าที่การเลิกจ้าง
- การละเลยในการเลื่อนหรือลดตำแหน่ง
- การละเมิดทางเพศ หรือสถานที่ทำงานถูกรบกวน
- การปฏิบัติไม่เท่าเทียมกัน
- การเสนอขายหุ้น เพิ่มทุน หุ้นกู้ / (Stock and Debt Offering)
- การออกหนังสือชี้ชวน แล้วมีการแถลงข้อความผิดพลาด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : | 02-0542391 |
062-6923964 | |
093-6393291 | |
โทรสาร : | 02-0542391 |
อีเมล : | kriengdech.j@kprbroker.com |
peak.ros@gmail.com |
จันทร์-ศุกร์ : | เวลา 08:30 น. - 17:00 น. |
เสาร์ : | เวลา 09:00 น. - 15:00 น. |
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย) |